top of page
Search
  • Writer's picturePloy

Equalization - Freediving


Equalization


ความดัน คือแรงกดที่ถูกบีบอัดซึ่งมีหน่วยแทนค่าเป็น ATM หรือ BAR จากตัวอย่างในรูป ในน้ำทะเลค่าความดันจะเปลี่ยนแปลง 1 atm/bar ทุกๆ10เมตร ยิ่งลงลึกมากขึ้นก็จะยิ่งมีแรงดันมากขึ้นส่งผลให้วัตถุถูกบีบอัดด้วยแรงดันที่กดเข้ามา เช่นนำบอลลูนที่อัดเต็มไปด้วยอากาศปริมาตร1 ลิตรลงไปใต้ระดับนำทะเลที่มีความลึกมากขึ้นๆเรื่อยๆ ปริมาตรของบอลลูนก็จะมีขนาดที่เล็กลงไปเรื่อยๆ ลงไปที่ความลึก 30 เมตร มีแรงดัน 4 bar ปริมาตรของบอลลูนจะถูกบีบเล็กลงเหลือเพียง1/4และความหนาแน่นของอากาศด้านในก็จะยิ่งหนาแน่นมากขึ้นๆเรื่อยๆ เมื่อปล่อยบอลลูนกลับขึ้นบนผิวน้ำ ปริมาตรของบอลลูนก็จะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นตามแรงกดที่น้อยลงและเมื่อกลับถึงผิวน้ำ บอลลูนก็จะขยายปริมาตรเท่าเดิม



หูคนเราแบ่งเป็นสามส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน ส่วนที่ได้รับแรงดันโดยตรงก็คือ แก้วหู(Ear drum)ที่อยู่ตรงหูชั้นกลางนั่นเอง


มื่อแรงดันภายนอกมากกว่าแรงดันภายในจะส่งผลให้แก้วหูถูกแรงอัดเข้ามาทำให้เกิดอาการหูอื้อ เราจึงต้องปรับแรงดันของทั้งแรงดันภายนอกและแรงดันภายในให้เท่ากันเพื่อให้อาการหูอื้อนั้นหายไป เรียกว่า การปรับแรงดันในช่องหูหรือการเคลียร์หูนั่นเอง


การเคลียร์หูนั้นใช้กล้ามเนื้อและอวัยวะหลายส่วน ไม่ใช่แค่การบีบจมูกเป่าลมเฉยๆนะจ๊ะ มาทำความเข้าใจกันว่าร่างกายเราใช้กล้ามเนื้อส่วนไหนบ้างเพื่อที่เราจะได้พัฒนาทักษะได้อย่างถูกต้องและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด


1.ท่อEustachian เชื่อต่อระหว่างช่องหูและคอ

2.Soft Palate เพดานอ่อน กั้นระหว่างช่องจมูกแลัช่องปาก

3.Epiglottis ฝาปิดกล่องเสียง

4.Larynx กล่องเสียง

5.Glottis ช่องเส้นเสียง

6. Tongue ลิิ้น



อันดับแรกที่เราควรรู้คือ Eustachian Tubeหรือท่อยูสเตเชี่ยน ที่เชื่อต่อระหว่างช่องหูและคอ หน้าที่หลักๆก็คือการนำพาแรงดันส่งไปที่หูชั้นกลางนั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราเป็นหวัด คัดจมูก มีอาการภูมิแพ้ อาจส่งผลให้มีเมือกในท่อยูสเตเชี่ยนมากหรือท่อตีบตันทำให้เป็นปัญหากับการเคลียร์หูเพราะแรงดันไม่สามารถผ่านเข้าไปได้เต็มที่


2. Soft Palate อันนี้สำคัญมาก ตัวเพดานอ่อนนี้จะเป็นตัวกั้นระหว่างช่องจมูกและช่องปาก การที่เราจะเคลียร์หูให้อากาศผ่านเข้าไปได้ เพดานอ่อนตัวอยู่ในตำแหน่งที่เปิด ลองสังเกตดููคนที่มีปัญหาเคลียร์หูยากว่าเกร็งระหว่างที่ดำน้ำอยู่รึเปล่า(ทั้งfreedive/scuba) ถ้าหากเกร็งจะส่งผลให้เพดานอ่อนนี้ปิดโดยอัตโนมัติ ต่อให้ส่งแรงดันเข้าไปมากยังไงก็ไม่สามารถเคลียร์ได้




ในระหว่างที่เคลียรืหูตำแหน่งของลิ้นมีความสำคัญมากๆ ในการ"สร้างแรงดัน"เพื่อส่งไปเคลียร์ที่หูชั้นกลางนั้นเราต้องเพิ่มแรงดันในช่องปากและจมูกก่อน

ตำแหน่งของลิ้น เราเรียกกันง่ายๆว่า "LOCK" (ล็อค) แต่ละตำแหน่งจะช่วยสร้างแรงดันส่งไปที่หูชั้นกลางในความลึกที่ต่างกัน โดยไล่จาก P,T,K,H ไปความลึกที่มากขึ้นเรื่อยๆ













สรุปขั้นตอนการเคลียร์หู 1.บีบจมูก 2.ผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่องปากและลำคอทั้งหมด ลิ้นและลำคอลดต่ำลงเพื่อสร้างแรงดูด(Vacuum)ตรงด้านหลังของช่องปาก 3.ดึงอากาศขึ้นมาจากปอดโดยใช้เทคนิคReverse Packing ปิดช่องเส้นเสียง (vocal fold)เพื่อให้แน่ใจว่าอากาศจะไม่ย้อนกลับไปที่ปอด 4ยกกล่องเสียง(Larynx)ขึ้นเพื่อดันอากาศเข้าไปที่ช่องปาก/จมูก อย่าเกร็ง เพดานอ่อน(Soft palate) อยู่ในตำแหน่งที่เปิด(neutral position) 5.ใช้ลิ้นเป็นตัวส่งแรงดันไปที่ช่องหูผ่านEustachian tube โดยใช้ตำแหน่งของลิ้นTongue lock(P,T,K,H)ตามลำดับ ตามความลึกที่มากขึ้น 6.เมื่อแรงดันส่งไปถึงหูชั้นกลางเราจะรู้สึกถึงเสียงป็อบเล็กๆ(popping sound) เป็นการปรับแรงดันทั้งภายในและภายนอกให้เท่ากัน 7เคลียร์หูให้บ่อย อย่ารอให้เจ็บแล้วเคลียร์ เมื่อลงความลึกที่มากขึ้นให้เคลียร์หูเลยทันที ทำแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ








bottom of page