หลายปีก่อนได้ยินข่าวเกี่ยวกับปะการังฟอกขาว โลกร้อนทำแนวประการังที่Great Barrier Reef ตายเรียบก็รู้สึกตกใจ แต่ก็ยังคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนเมื่ออาทิตย์ที่แล้วไปดำน้ำที่ชุมพร สองวันแรกดำแบบสนุกสนาน แฮปปี้มาก เจอทั้งฉลามวาฬ น้ำใส แนวปะการังสวย จนมาวันที่สามได้ไปอีกจุดดำน้ำนึง จำได้ว่าสองสามปีก่อนมา ปะการังเขากวางที่นี่สวยมาก…กลับมารอบนี้ 20-30% ของแนวปะการังกลายเป็นสีขาวไปหมดแล้ว…….
‘ภาวะปะการังฟอกขาว’(Coral Bleaching) หลักๆเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล (โดยปกติอุณหภูมิน้ำทะเลบ้านเราอยู่ที่ 28-29 องศา) ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นติดต่อกันหลายอาทิตย์ ก็จะทำให้เกิดการฟอกขาว หรือ ความเค็มของน้ำทะเลที่เปลี่ยนไป (น้ำจืดไหลลงมากเนื่องจากพายุฝน, มลพิษต่างๆ)
ทำให้ปะการังมีสีซีดจางลงจนเป็นสีขาวเป็นผลมาจากการสูญเสียสาหร่ายชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Zooxanthellae ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารและสร้างสีสันให้กับปะการังและปะการังก็ให้ที่อยู่กับสาหร่าย (จริงๆแล้วเนื้อเยื่อของปะการังเป็นสีใสๆ แต่สีสดๆที่เราเห็นมาจากชนิดของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ที่เข้าไปอยู่)
เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบนี้แล้ว นอกจากจะช่วยกันลดโลกร้อน อย่างน้อยเวลาไปเที่ยวทะเลเราก็เริ่มช่วยได้ อย่างเช่นการใช้ครีมกันแดดที่ไม่มีสารเคมีที่ทำให้ปะการังเสื่อมโทรม (reef safe) หรือแบบกันน้ำเพราะจะชะล้างเวลาอยุ่ในน้ำได้น้อยกว่า
สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังมี
1. Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 2. 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) 3. Butylparaben 4. Oxybenzone หรือ BP-3
ตัวที่หนักสุดเลยก็คือ Oxybenzone นี่แหละเพราะว่ามันรบกวนระบบสืบพันธุ์ของปะการังโดยตรงและก็เป็นส่วนผสมหลักของครีมกันแดดหลายๆยี่ห้อด้วย
มีอีกหลายต่อหลายวิธีที่เราจะช่วยลดโลกร้อน ลดปัญหาปะการังฟอกขาว มาช่วยกันเถอะก่อนที่จะสายเกินแก้ ไม่รู้ว่าอีก5ปี10ปีจะเป็นยังไง ถ้าไม่เริ่มทำอะไรตั้งแต่ตอนนี้ ในอนาคตอาจจะไม่เหลือปะการังสวยๆให้ได้ดูกันแล้ว
#coral #coralbleaching #globalwarming #freedivingthailand #diving#chumphon #bangkokfreedivers #olympusthailand #prodiveimaging#olympustg5
Comments